ภาษาใต้ หลายๆ คำแปลกๆ โม่เด็กหัดแหลงใต้กันหวานิ

admin2
Hero Member
Hero Member
Posts: 4595
Joined: Wed Apr 16, 2014 8:00 pm
Thailand

ภาษาใต้ หลายๆ คำแปลกๆ โม่เด็กหัดแหลงใต้กันหวานิ

ข้อมูลby admin2 » Sun Aug 02, 2020 7:32 pm

คำทั่วไป
เป็นไงบ้าง/อย่างไรบ้าง = พรือมัง, พันพรือม, พันพรือมัง (สงขลา จะออกเสียงว่า ผรื่อ เช่น ว่าผรื่อ = ว่าอย่างไร)
ตอนนี้ ปัจจุบัน = หวางนี่ (คำนี้ใช้ ในภาษาถิ่นใต้ทั่วไป) , แหละนี่ (คำนี้จะใช้เฉพาะในเขตอำเภอจะนะ อำเภอนาทวี อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย ของจังหวัดสงขลา และอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี)
โง่ = โม่, โบ่
วัว = ฮัว (มาจากคำว่า งัว ในภาษาเก่า เนื่องจากในสำเนียงใต้จะไม่มีเสียง ง. งู แต่จะใช้เสียง ฮ. นกฮูก แทน)
เจ้าชู้ = อ้อร้อ (จะใช้เฉพาะ กับผู้หญิง เช่น สาวคนนี้ อ้อร้อ จัง คำ ๆ นี้มีความหมายในแง่ลบ ใกล้เคียงกับคำว่า แรด ในภาษากรุงเทพ)
ทุกข์ ลำบาก = เสดสา มาจากภาษามลายู siksa (เช่น ปีนี้เสดสาจัง = ปีนี้ลำบากมาก)
กลับบ้าน = หลบบ้าน, หลบเริน
เยอะๆ หลายๆ = ลุย, จังหู, จังเสีย, กองเอ, คาเอ, จังแจ็ก, จังเสีย, จ้าน, กองลุย
ไปไหน มาไหนคนเดียว = มาแต่สวน
แฟน = แควน (ฟ จะเปลี่ยนเป็น คว เกือบทุกคำ) ,โม่เด็ก
ตะหลิว = เจียนฉี (ภายหลังมีการเพื้ยนในแถบจังหวัดพัทลุงกลายเป็น ฉ่อนฉี (ช้อนฉี))
ชะมด = มูสัง มาจากภาษามลายู musang
อร่อย = หรอย
อร่อยมาก = หรอยจังหู, หรอยพึด, หรอยอีตาย
ไม่ทราบ = ม่ารู่ม้าย (คำนี้ใช้ในเขต นครศรีธรรมราช และใกล้เคียง) ไม่โร่ (สำเนียงสงขลา เสียง อู จะแปลงเป็น เสียง โอ เช่น รู้ คนสงขลาจะพูดเป็น โร่, คู่ คนสงขลาจะพูดเป็น โค่, ต้นประดู่ = ต้นโด ฯลฯ )
ขี้เหร่, ไม่สวยไม่งาม = โมระ หรือ โบระ (ออกเสียงควบกล้ำ มากจาก buruk เทียบมลายูปัตตานี ฆอระ)
กังวล, เป็นห่วง = หวังเหวิด (คำนี้มักใช้ในภาษาไทยถิ่นใต้ตอนบน แต่โดยทั่วไปก็เข้าใจในความหมาย) มิมัง (ภาษาไทยถิ่นใต้ ในเขต จะนะ เทพา สะบ้าย้อย)
ศาลา = หลา
ภาชนะสำหรับตักน้ำในบ่อ = ถุ้ง, หมาตักน้ำ บางถิ่นเรียก ตีหมา หรือ ตีมา มาจาก timba ในภาษามลายู
รีบเร่ง ลนลาน = ลกลัก หรือ ลกลก
อาการบ้าจี้ = ลาต้า
ขว้างออกไป = ลิว, ซัด
ซอมซ่อ = ม่อร็อง, ร้าย หรือร้ายๆ , หม็องแหม็ง
โลภมาก = ตาล่อ, หาจก, ตาอยาก
โกรธ = หวิบ, หวี่
โกรธมาก = หวิบอย่างแรง , หวิบหูจี้
บ๊อง = เบร่อ, เหมฺร่อ ,เร่อ
ทำไม = ไซ (หรืออาจออกเสียงว่า ใส)
อย่างไร = พันพรือ, พรือ
โกหก = ขี้หก, ขี้เท็จ
กระท่อม = หนำ, ขนำ, ก๋องซี (บ้านพักชั่วคราวซึ่งปลูกขึ้นอย่างง่ายๆ)มาจาก 公司 ในภาษาจีน
อีกแล้ว = หล่าว
กะละมัง = โคม, พุ้น
เลอะเทอะ = หลูหละ, ซอกปร็อก (มาจากคำว่า สกปรก แต่ออกเสียงสั้นๆ ห้วนๆ กลายเป็น สก-ปรก)
หกนองพื้น = เพรื่อ
ประจำ = อาโหญฺะ, โหญฺะ (เสียงนาสิก)
ทิ้ง = ทุ่ม
อาการขว้างสิ่งของลงบนพื้น = ฟัด (อาจออกเสียงว่า ขวัด)
กัด = ขบ, ค็อบ, คล็อด
กลิ่นที่รุนแรง = ฉ็อง (ตัวอย่าง "เหม็นฉ็องเยี่ยว" = เหม็นกลิ่นฉี่)
ดื้อรั้น = ช็องด็อง
กินไม่หมด = แหญะ (ข้าวที่เหลือจากการกิน เรียกว่า ข้าวแหญะ)
เอาเงินไปแลก = แตกเบี้ย (แลกเงินเป็นแบงค์ย่อยสัก 100 บาท เรียกว่า แตกเบี้ยซักร้อยบาท)
สะใจดี = ได้แรงอก
เขียง = ดานเฉียง
นิ่งเสีย, นิ่งเดี๋ยวนี้ = แหน่งกึ๊บ (คำนี้ใช้ขู่เด็กขี้แยให้หยุดร้องไห้)
ผงชูรส = แป้งหวาน
บริเวณที่ลุ่ม มีน้ำแฉะ = โพระ หรือ พรุ (มาจาก baroh ในภาษามลายู)
กาแฟ = กาแคว, โกปี้ (มาจาก kopi ในภาษามลายู)
การแสดงความเคารพของทหาร ตำรวจ = ตะเบะ (มาจาก tabik ในภาษามลายู)
ก็เพราะว่า = เบ่อ และใช้แทนคำลงท้าย หรือเป็นคำจบประโยค (เป็นคำที่ใช้กันในอำเภอหาดใหญ่ และใกล้เคียง เป็นคำติดปากที่ใช้เกือบทุดประโยคที่พูด)
คาดว่า, น่าจะ, คงเป็นเช่นนั้น = ส่าหวา, สาว่า
เศษเหรียญ = ลูกกัก, ลูกเหรียญ, ลูกตาง
จะ = อี (เช่น จะใช้แล้วเร็วๆหน่อย เป็น อีใช้แล้วแขบๆอิ้ด)
รีบ = แขบ
ทำไม = ไซ
กระทุ้ง = แท่ง
แอบ = หยบ
กลับบ้าน = หลบเริน
รู้ความ = รู้สา
รู้สึก(รังเกียจ) = สา
กะปิ = เคย
น้ำพริก = น้ำชุบ
เอาอีกแล้ว = เอาแหล่วหลาว

สำนวน ภาษาใต้
ลอกอชายไฟ = ใช้พูดเพื่อตัดพ้อผู้ที่มองไม่เห็นคุณค่าของตน แต่พอผิดหวังกับคนที่หวังเอาไว้ จึงค่อยหันกลับมาเห็นความสำคัญทีหลัง
ช้างแล่นอย่ายุงหาง = อย่าขัดขวางผู้มีอำนาจ ("แล่น" หมายถึง วิ่ง, "ยุง" หมายถึง พยุง จับหรือดึง)
คุ้ยขอนหาแข็บ = มีความหมายเดียวกับ "ฟื้นฝอยหาตะเข็บ" ในภาษาไทยกลาง ซึ่งตามพจนานุกรม หมายถึง คุ้ยเขี่ยหาความที่สงบแล้วให้กลับเป็นเรื่องขึ้นมาอีก
อยู่ไม่รู้หวัน = ใช้ว่าคนที่เฉิ่ม ๆ หรือไม่ค่อยรู้เรื่อวรู้ราว มาจากอยู่ไม่รู้วันไม่รู้คืน ( ส่วนใหญ่จะพูดย่อๆ ว่า อยู่ไม่หวัน )
เหลี่ยมลอกอลิด = ใช้กับคนที่มีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราวกคล้ายๆกับมะละกอ ("ลอกอ" หมายถึงมะละกอ) ที่ถูกปอกเปลือก ("ลิด" หมายถึงปอกเปลือก) ซึ่งเมื่อปอกไปมากๆ จะเกิดเหลี่ยมมุมมากขึ้นเรื่อยๆจนนับไม่ถ้วน
ควัดด็องเปล่า = การกระทำอะไรซึ่งทำแล้วไม่เกิดผลอะไรต่อตนเองเลยแม้แต่น้อยเป็นการเสียแรง เปล่าๆ (เหมือนการฝัดข้าวด้วยกระด้งที่ไม่มีข้าวอยู่เลย "ด็อง" คือกระด้ง)
ทั้งกินทั้งขอ ทั้งคดห่อหลบเริน = การตักตวงผลประโยชน์เข้าตัว ("คดห่อ"หมายถึงการนำข้าวใส่ภาชนะแล้วพาไปไหนมาไหน) เปรียบกับเมื่อบ้านไหนมี งานแล้วจะมีคนที่ทั้งกินส่วนที่เขาให้กิน แล้วยังไปขอเพิ่มและห่อกลับบ้านไปอีก
ที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

admin2
Hero Member
Hero Member
Posts: 4595
Joined: Wed Apr 16, 2014 8:00 pm
Thailand

Re: ภาษาใต้ หลายๆ คำแปลกๆ โม่เด็กหัดแหลงใต้กันหวานิ

ข้อมูลby admin2 » Sun Aug 02, 2020 7:40 pm

ภาษาใต้วันละคำ

- หลบ, หล็อบ (หล๊อบ)

หมายความว่า : กลับ

ตัวอย่าง : ลุงลูกเสือบอกว่า เดือนหน้า จะหล็อบเริน

- เริน

หมายความว่า : บ้าน, เรือน

- ขวยใจ (ข้วยใจ๋), หวังเหวิด (หวั้งเวิ้ด)

หมายความว่า : กังวลใจ เป็นห่วง

ตัวอย่าง : หวังเหวิดคนดูไบจั่งหู้ ไม่รู้ว่ายังมีชีวิตอยู่เหล้ยม้าย

- จังหู (จั่งหู้), จังหัน (จั่งหั้น), คาลักคาลุย, กองลุย, กองเอ, ราสา, หนัดเหนียน

หมายความว่า : เยอะแยะ มากมาย

ตัวอย่าง : ภาษาใต้ มีมากมาย จังหู้ จังหั้น จ่านเแจ็ก

- หิด,หิดหุ้ย, แต็ด, แยด

หมายความว่า : เล็กน้อย นิดหน่อย ไม่มาก

ตัวอย่าง : คนเสื้อแดงแรกแต่วา มีแต็ดเดียว สงสัยว่า จะได้ตังค์กันคนละหิดหุ้ย

- หาม้าย

หมายความว่า : ไม่มี

ตัวอย่าง : เปิดดูกล่องฎีกา หาม้ายกระดาษซักแผ่น

- ฉาด (ฉ้าด), หมดฉาด (หม๊ดฉ้าด), เหม็ดฉาด (เม๊ดฉ้าด)

หมายความว่า : หมด ไม่มี หมดเกลี้ยง

ตัวอย่าง : ฝนตกมาทีไร เสื้อแดงก็หนีหาย เหม็ดฉาด

- เอิด,เหลิด (เหลิ้ด)

หมายความว่า : ทำตัวกร่าง ทำเป็นเก่ง

ตัวอย่าง : ไอ้พวกสามเกลอ จริงๆแหล่วหม้ายไหร้ แต่ทำเป็นเอิด เหลิ้ดจั่งหู้แหล่ว

- หยบ (หย๊อบ)

หมายความว่า : แอบ หลบหรือซ่อน

ตัวอย่าง : หน้าเหลี่ยมคนกล้า พอศาลตัดสินมา หย๊อบหนีไปเฉยเลย

- พลัดพรก, เหลินดังแส็ก

หมายความว่า : อาการของการหล่นลงมาอย่างแรง (เหลิน = หล่น)

ตัวอย่าง : หน้า เหลี่ยมบอกว่า นั่งเครื่องบินผ่านประเทศไทยไปมา น่าเอาปืนยิงให้พลัดพรก เหลินดังแส็ก ดูท่า น่าจะได้แรงอก


Return to “คำศัพท์ภาษาใต้ หัดแหลงใต้กันหวานิ”