อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Mueang Sing Historical Park)

กาญจนบุรี
Onchira Chaikiti
Jr. Member
Jr. Member
Posts: 85
Joined: Thu Aug 31, 2017 9:40 am
Thailand

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Mueang Sing Historical Park)

ข้อมูลby Onchira Chaikiti » Thu Sep 21, 2017 1:05 pm

รายละเอียดสถานที่

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Mueang Sing Historical Park)
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ตำบล สิงห์ อำเภอ ไทรโยค จังหวัด กาญจนบุรี 71150
แสดงเส้นทาง สถานที่ทั้งหมด

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (Mueang Sing Historical Park)

Mueang Sing-pikandmix-2.jpg
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ภาพ : pikandmix
Mueang Sing-pikandmix-2.jpg (359.75 KiB) Viewed 4112 times

อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ หรือที่เรียกกันว่า ปราสาทเมืองสิงห์ เป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ของไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นโบราณสถานที่มีศิลปะการก่อสร้างอยู่ในยุคลพบุรีตอนปลาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-18 ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีเนื้อที่ประมาณ 800 กว่าไร่ กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลงขนาดกว้าง 880 เมตร โดยได้รับอิทธิพลทางศาสนาพุทธ นิกายมหายาน และวัฒนธรรมจากกัมพูชา ตัวปราสาทล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง คูน้ำ และแนวคันดิน รูปแบบสถาปัตยกรรมและประติมากรรมสร้างตามลักษณะขอมแบบบายน ตรงกับสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของประเทศกัมพูชาที่มีลักษณะช่างท้องถิ่นผสมอยู่

Mueang Sing-pikandmix-1.jpg
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ภาพ : pikandmix
Mueang Sing-pikandmix-1.jpg (140.8 KiB) Viewed 4112 times

การขุดตกแต่งบูรณะอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 โดยช่างฝีมือจากกรมศิลปากร ใช้เวลาดำเนินการอยู่หลายปี จนถึงปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พระพรรษา รัฐบาลได้มีนโยบายให้มีการเฉลิมฉลองสมโภชยิ่งใหญ่ทั่วประเทศ กรมศิลปากร ก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีดำริเพื่อจะดำเนินการเพื่อสนองนโยบายดังกล่าวของรัฐบาล เช่นการเปิดอุทยานประวัติศาสตร์เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ตลอดจนนักท่องเที่ยวทั่วไปได้เข้าชมและศึกษาหาความรู้ อุทยานประวัติศาสตร์ที่กรมศิลปากรมีกำหนดเปิดเป็นทางการเป็นแห่งแรกในปี พ.ศ. 2530 คืออุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เป็นโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลจากขอมอันมีอยู่เพียงแห่งเดียวทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ด้วยเหตุนี้กรมศิลปากรจึงมีดำริและพิจารณาให้โครงการอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์เร่งดำเนินการขุดแต่ง และบูรณะ อีกทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ในเขตโบราณถสานแห่งนี้

Mueang Sing-Wikimedia-2.jpg
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ภาพ : Wikimedia
Mueang Sing-Wikimedia-2.jpg (119.25 KiB) Viewed 4112 times

ภายในอุทยานฯ ได้แบ่งพื้นที่เข้าชมโบราณสถานเป็นส่วนๆ มีทั้งการจัดแสดงภายในอาคาร และซากโบราณสถานทั้ง 4 แห่ง คือ
โบราณสถานหมายเลข 1 : ได้แก่โบราณสถานที่อยู่บริเวณใจกลางกลุ่มโบราณสถาน เป็นกลุ่มอาคารส่วนใหญ่ยึดแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตกเป็นหลัก ประกอบด้วย ปรางค์ประธาน ระเบียงคด โคปุระ บรรณศาลา และกำแพงแก้ว
โบราณสถานหมายเลข 2 : มีลักษณะคล้ายโบราณสถานหมายเลข 1 แต่มีขนาดเล็กกว่า ตัวโบราณสถานประกอบไปด้วยปรางค์ประธาน ระเบียงคดโคปุระ และกำแพงแก้ว สันนิษฐานว่า เป็นศาสนสถานที่สำคัญ
โบราณสถานหมายเลข 3 : เป็นโบราณสถานขนาดเล็ก ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว สร้างด้วยศิลาแรง ใช้เทคนิคการเรียงอิฐแบบ Header Bond สภาพค่อนข้างชำรุด
โบราณสถานหมายเลข 4 : เป็นอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฐานคล้ายห้องแถว 4 ห้อง ก่อสร้างโดยใช้ศิลาแรง สภาพในปัจจุบันเหลือแต่เพียงส่วนฐาน

กิจกรรมที่น่าสนใจ

Mueang Sing-Wikimedia-1.jpg
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ภาพ : Wikimedia
Mueang Sing-Wikimedia-1.jpg (114.96 KiB) Viewed 4112 times

ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ เยี่ยมชมโบราณสถาน อาคารจัดแสดงศิลปวัตถุ และหลุมขุดค้นโครงกระดูก

ที่อยู่
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ตำบล สิงห์ อำเภอ ไทรโยค จังหวัด กาญจนบุรี 71150

เวลาทำการ
เวลาเปิด 08:00 น.
เวลาปิด 16:30 น.

ติดต่อสอบถาม
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
โทรศัพท์ : 034 670264 5
เว็บไซต์ : http://www.muangsinghp.com
E-Mail : [email protected]

การเดินทาง
รถยนต์
การเดินทางจาก กรุงเทพฯ ไป กาญจนบุรี ด้วยรถยนต์
ตรวจสอบเส้นทางเพิ่มเติม

รถไฟ
การเดินทางจาก กรุงเทพฯ ไป กาญจนบุรี โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการรถรถธรรมดา จาก กรุงเทพฯ ไป กาญจนบุรี ทุกวัน
รถไฟเที่ยวแรก จาก กรุงเทพฯ ไป กาญจนบุรี เวลา 07:50 น.
รถไฟเที่ยวสุดท้าย จาก กรุงเทพฯ ไป กาญจนบุรี เวลา 13:55 น.
ตรวจสอบเวลาการเดินรถเพิ่มเติม
สอบถามรายละเอียดได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690 หรือ www.railway.co.th

ข้อมูลจาก
http://www.muangsinghp.com

Return to “กาญจนบุรี”